ประวัติและข้อมูลหมู่บ้าน  บ้านกู่  หมู่ที่  1 ตำบลบ้านกู่  อำเภอยางสีสุราช  จังหวัดมหาสารคาม

ข้อมูลทั่วไป

1.  สภาพทั่วไป

    บ้านกู่  หมู่ที่ 1 เดิมย้ายมาจากบ้านโคกสีดงมัน บ้านดงบัง บ้านหัวดง และบ้านหนองซำ ซึ่งมี นายมาตร นายราชเสนา มหารัญ

นายเหลา ชินหัวดง นายจำ นายเที่ยง จำปาวดี นายชินวงษ์ ไชยโก ทั้งหมดนี้เป็นผู้นำในการย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากเป็นบ้านกู่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2430 ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้น มีครัวเรือนเพิ่มขึ้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น ชื่อวัดชัยมงคล

เมื่อปี พ.ศ. 2443 ที่ตั้งวัดมีปรางค์กู่ จึงเอานามชื่อของหมู่บ้านว่า บ้านกู่

    ผู้นำหมู่บ้านคนแรก (กำนัน) คือ นายหนูไกร ภพไกร คนที่ 2 นายบุญ ห่านคำวงษ์ คนที่ 3 นายผงมหารัญ คนที่ 4 นายบุญศรี          (อยู่ได้ 3 ปี) ต่อมา นายผง มหารัญ จนครบ 60 ปี ก็หมดวาระไป ต่อมาคนที่ 5 นายชารี จันดาหัวดง คนที่ 6 นายด้วย สีหานาม และจนถึงปัจจุบันคือ นางศศินิภา  อำนาจครุฑ

อาณาเขต

           ทิศเหนือ          จรดบ้านดอนดู่ – บ้านวังบอน    อำเภอนาดูน

           ทิศใต้              จรดบ้านสว่าง – บ้านโนนจาน   อำเภอยางสีสุราช

           ทิศตะวันออก     จรดบ้านโนนรัง                     อำเภอยางสีสุราช

           ทิศตะวันตก       จรดบ้านหัวช้าง                     อำเภอยางสีสุราช

 

ประชากร

          บ้านกู่ หมู่ที่ 1 มีครัวเรือนทั้งหมด 96 ครัวเรือน ประชากร 507 คน หญิง 253 คน

2.  สภาพเศรษฐกิจ

        ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนาข้าวเป็นหลักมีพื้นที่ในการทำนา ประมาณ 1,050 ไร่ นอกจากนี้ยังมีอาชีพเสริมได้แก่ การเลี้ยงโค กระบือ ทอผ้า เจียระไนพลอย ค้าขาย รับจ้าง เป็นต้น มีโคกระบือ 200 ตัว สุกร 80 ตัว เลี้ยงเป็ด/ไก่ 80 ครัวเรือน มีบ่อเลี้ยงปลาบริเวณบ้าน 2 บ่อ / สระน้ำในที่นา 6 บ่อ เลี้ยงกบบริเวณบ้าน 2 ครัวเรือน ปลูกผักสวนครัวในบริเวณบ้าน 20 ครัวเรือน และในหมู่บ้านมีกองทุนด้านอาชีพและกลุ่มเศรษฐกิจจำนวน 6 กลุ่มดังนี้

        1. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2544 มีเงินกองทุน 1,069,803 บาท มีเงินสัจจะออมทรัพย์ 54,426 บาท คณะกรรมการ 9 คน สมาชิก 83 ราย ดำเนินกิจกรรมให้สมาชิกกู้ยืมเงินประกอบอาชีพ อาชีพที่ประสบผลสำเร็จคือการการเลี้ยงโค และค่าขายของชำ

        2. กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 มี เงินกองทุน 280,000 บาท มีคณะกรรมการ 9 คน สมาชิก 80 ครัวเรือน ดำเนินกิจกรรมให้สมาชิกกู้ยืมเงินประกอบอาชีพส่วนใหญ่ เลี้ยงโค และทำการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จคือเลี้ยงโคและทำขนมจีน

        3. กองทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2544 ) มีเงินกองทุน 100,000 บาท มีคณะกรรมการ 7 คน สมาชิก 96 คน ให้สมาชิกกู้ยืมเงินประกอบอาชีพที่ประสบความสำเร็จคือ เลี้ยงสุกรขุนเพื่อขาย

        4. กลุ่มทอผ้า มีการท่อผ้าไหมของแม่บ้าน มีคณะกรรมการและแกนนำสตรีแม่บ้านเริ่มต้น 15 คน มีเงินกองทุน 10,000 บาท

        5. กลุ่มเจียระไนพลอย มีสมาชิกเริ่มต้น 22 คน มีการประกอบอาชีพเสริม คือรับพลอยเจียระไนเพื่อเสริมรายได้ของครอบครัว

        6. กลุ่มธนาคารข้าว มีสมาชิกทุกครอบครัว คือ 96 ครัวเรือน มีข้าวไว้กู้ยืม 7 ตัน มีการหมุนเวียนทุกๆ ปี

 

3. ทรัพยากรในชุมชน

1. แหล่งน้ำธรรมชาติ

                -   ลำห้วยกำพร้า ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 1,300 เมตร ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร (ทำนา)

                     เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน และใช้เลี้ยงสัตว์ น้ำมีไม่มากนักในฤดูแล้ง

                -   หนองกู่ (หนองใหญ่) เนื้อที่ 56 ไร่ ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร (ทำนา) เป็นแหล่งอาหาร

                     ของชาวบ้าน และใช้เลี้ยงสัตว์ น้ำมีไม่มากนักในฤดูแล้ง

 

2. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

-   ประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง สามารถใช้น้ำอุปโภคบริโภค ได้ทั้งหมู่บ้าน มีสมาชิกในการใช้น้ำ 96 ครัวเรือน

3. ป่าไม้

                -  ป่าดอนปู่ตา มีเนื้อที่ 13 ไร่ ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในชุมชน ใช้เป็นประกอบพิธีกรรมของหมู่บ้าน เป็นการอนุรักษ์ ป่าชุมชนของหมู่บ้าน เป็นแหล่ง อาหารของชุมชนและสมุนไพร

                -  ต้นไผ่ในหมู่บ้าน ในหมู่บ้านมีต้นไผ่จำนวนมาก ใช้ประโยชน์โดยใช้หน่อเป็นอาหารลำต้นใช้จักสานเป็นอุปกรณ์ เครื่องใช้ในครัวเรือน มีภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีความ สามารถจักสารไม่ไผ่ในหมู่บ้าน 6 คน

 

4. ดิน

          -  สภาพดินส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน มีปัญหาด้านดินเปรี้ยว ดินเค็มมีบางพื้นที่ ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ปัญหาดินที่พบมากในหมู่บ้านคือ ขาดความอุดมสมบูรณ์ในการเกษตร    

 

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page